Winnie The Pooh

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาชีพในฝัน

อาชีพ"แพทย์" หรือ "หมอ" เป็นอาชีพที่ทุกคนรู้จักกันดี และหลายๆ คนก็มีความฝันที่อยากจะเป็น "หมอ"  กว่าที่จะเป็นหมอได้นั้นก็ไม่ใช่ของง่าย หรือว่ายากเกินความสามารถของเรา แต่ที่ยากก็คือ "ทำอย่างไรจึงจะเป็นหมอที่ดีได้" มากกว่า
     
ลักษณะอาชีพแพทย์
คือ ผู้ให้บริการทางการแพทย์และอนามัยแก่ชุมชน เพื่อบำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพและป้องกันโรคทั่วๆไปได้โดยถูกต้องเหมาะสมด้วยการวินิจฉัยโรคสั่งยา และให้การรักษาทางอายุรกรรม และศัลยกรรมในความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ซึ่งอาชีพแพทย์สามารถแบ่งสาขาเป็นแพทย์เฉพาะทาง อาทิเช่น แพทย์ทั่วไป (Physician) ศัลยแพทย์ (Surgeon) จักษุแพทย์(Ophthalmologist)จิตแพทย์ (Psychiatrist)วิสัญญีแพทย์ (Anesthetist)    อ่านต่อ



  

โรคฮีโมฟิเลีย

ภาวะเลือดออกง่าย หรือเลือดออกแล้วหยุดยาก อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือด เกล็ดเลือด (platelets) หรือระบบการแข็งตัวของเลือด (coaglulation system)ลักษณะของเลือดออกที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง อาจเป็นจุดแดง ขนาด 1 มิลลิเมตร หรือเท่าปลายเข็มหมุด เรียกว่า เพติเคีย (petichiae) หรือเป็นจ้ำเขียว หรือ พรายย้ำ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร หรือเท่าปลายนิ้ว เรียกว่า เอกไคโมซิส 
(ecchymosis) หรือเป็นก้อนนูน (hematoma)

โดยทั่วไป ถ้ามีสาเหตุจากหลอดเลือดผิดปกติ (เช่น หลอดเลือดเปราะ ในผู้ป่วยไข้เลือดออก) มักจะเกิดเป็นจุดแดงหรือจ้ำเขียวตื้น ๆ 
ถ้าเกิดจากเกล็ดเลือดผิดปกติ (เช่น เกล็ดเลือดต่ำในผู้ป่วยไข้เลือดออก, โลหิตจางอะพลาสติก, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, เอสแอลอี, ไอทีพี) มักเกิดเป็นจุดแดง ซึ่งอาจมีจ้ำเขียวร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ถ้าเกิดจากระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (เช่น ฮีโมฟิเลีย, ตับแข็ง, ภาวะ
ไตวาย, งูพิษกัด) มักเกิดเป็นจ้ำเขียว หรือก้อนนูน โดยไม่มีจุดแดงร่วมด้วย สาเหตุที่ทำให้เลือดออกง่ายที่พบบ่อย ในที่นี้ขอกล่าวถึง ไอทีพี และฮีโมฟิเลีย โดยเฉพาะ  อ่านต่


โรคเบาหวาน

  โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร
อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท  อ่านต่อ





วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคดักแด้

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)
          
       เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างผิวหนัง หากมีคุณพ่อคุณแม่ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ก็สามารถ่ายทอดผ่านทางยีนเด่น (Autosomal dominant) มาสู่ลูกได้

โรคนี้แบ่งความรุนแรงได้ตามลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง ดังนี้

1. Epldermolysis bullosa simplex : เป็นความผิดปกติที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งเป็นขั้นไม่รุนแรง ส่วนมากจะเกิดในวัยทารก เมื่อมีการเสียดสี กระทบกระทั่ง มีการขัดถูที่ผิวหนัง ก็อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็เกิดแผล แต่เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น  อ่านต่อ 


โรคธาลัสซีเมีย

 โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

เป็นโรคที่มีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อและแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดยีนผิดปกตินี้ไปยังลูก พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร และพบผู้ที่มียีนแฝง (พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร
ผู้ที่เป็นพาหะหรือมียีนแฝงธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร

ผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่มียีนแฝงของธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้ตามแบบแผนการถ่ายทอดของยีน อ่านต่อ


โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

         
ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
1.   ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
2.   ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทยการบริโภคผักและผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรและแม่บ้านมีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงรวมร้อยละ ๗๕ ส่วนในกลุ่มผู้บริโภคที่รวมถึงนักเรียน บุคลากรในมหาวิทยาลัย ข้าราชการ นั้นมีสูงถึงร้อยละ ๘๙.๒๒ ซึ่งสาเหตุหลักของความแตกต่างนี้อาจเป็นเพราะว่าเกษตรกรมีตัวเลือกในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยม อ่านต่อ


โรคหอบหืด เกิดจาก การประกอบอาชีพ

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

    เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่อโรค อุตสาหกรรมการผลิตสานยึดติด  อีพอกซีย์ งานเคลือบ ฉาบผิว วัสดุด้วยแลคเกอร์ หรือโพลียูรีเธน งานเชื่อม บัดกรีโลหะ งานทา พ่นสีรถยนต์ อาชีพที่เสี่ยงจากการสัมผัสสาร ก่อโรคชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูงได้แก่ อุ อ่านต่อ

โรคปอดฝุ่นฝ้าย


 โรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย หรือบิสสิโนซิส มีรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 พบในคนงานทอผ้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผู้ป่วยนอนราบไม่ได้ มีอาการเหนื่อย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและคลีนิคไม่ต่ำกว่า 35 แห่ง ในระยะ 5 ปี จากการสอบสวนโรคพบว่าผู้ป่วยบิสสิโนซิสในโรงงานดังกล่าวกว่า 20 %
            
และในปี 2532 มีรายงานผู้ป่วยบิสสิโนซิส ในโรงงานทอผ้าอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด สมุทรปราการอีกเช่นกันในแผนกปั่น เท่ากับ 15.4 % ซึ่งพบโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยและ อ่านต่อ



โรคปอดฝุ่นหิน

สาเหตุ

      โรคปอดฝุ่นหิน หรือ โรคซิลิโคสิส (silicosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสาร ซิลิคอนไดออกไซด์
หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป
อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง  อ่านต่อ


โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ

โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ
      
        การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารทำละลายต่าง ๆ   ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสาเหตุและผลกระทบ
2. โรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนประกอบอาชีพ โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกันแ อ่านต่อ